เมื่อการทำธุรกิจฟิตเนสไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เพราะด้วยจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆและตลาดหรือเทรนด์การออกกำลังกายที่เปลี่ยนแปลงไปทุกๆปี สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้จักมากกว่าเทรนด์การออกกำลังกายใหม่ๆหรือเครื่องออกกำลังกายล้ำสมัยที่ออกใหม่ก็คือ การรู้จักคนที่จะมาเป็น “ลูกค้า” ของคุณหรือคนที่มาออกกำลังกายที่ฟิตเนส เพื่อให้พัฒนาและต่อยอดบริการได้ตอบโจทย์และตรงใจกับพวกเขามากสุด
โดยปกติแล้วเราจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนออกกำลังกายนั้นมาจากปัจจัยหลากหลายอย่างเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น อุปกรณ์แบบสวมใส่อย่างนาฬิกาข้อมือตรวจวัดการวิ่งและหัวใจ, พื้นที่ทำเลและสภาพเศรษฐกิจที่มีผลต่อการใช้จ่าย หรือจำนวนประชากรที่มีการเปลี่ยนไปอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เทรนด์ผู้สูงอายุที่มีจำนวนสูงขึ้น ทำให้ฟิตเนสหลายเจ้าเริ่มออกแบบโปรแกรมและอุปกรณ์เพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ
ด้วยเหตุและปัจจัยแบบนี้ เราขอชวนมาดูสถิติ สิ่งที่น่าสนใจ และทำความเข้าใจพฤติกรรมการออกกำลังกาย รวมถึงวิธีการออกแบบบริการที่ตรงกับคนเล่นฟิตเนสตั้งแต่พื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เครดิตรูปภาพ : WHO
องค์กรอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ได้ระบุและแนะนำเกณฑ์ขั้นต่ำในการออกกำลังกายสำหรับผู้ใหญ่และคนทั่วไปเพื่อให้มีสุขภาพดี ป้องกันโรคภัย โดยการออกกำลังกายแบบ Moderate Exercise (การออกกำลังกายที่อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 50-70% ของอัตราสูงสุด) เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเดินเร็ว เต้นแอโรบิค หรือปั่นจักรยาน เป็นเวลาอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายแบบ Vigorous Exercise (การออกกำลังกายที่อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 70-85% ของอัตราสูงสุด) เช่นการวิ่งเร็ว หรือปั่นจักรยานเร็ว เป็นเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์ และควรยืดกล้ามเนื้อมากกว่า 2 วันต่อสัปดาห์
นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวในระดับเบาจะไม่นับตามเวลาที่แนะนำ เพราะจากความหมายของการออกกำลังกายของแต่ละคนมักแตกต่างกันไปและไม่ชัดเจน เช่นการเดินไปยังที่ทำงาน เป็นต้น แปลว่าทุกคนสามารถแบ่งเวลาออกกำลังกายแบบหนักสลับกับปานกลางเป็น 30 นาทีทุกวัน หรือแบ่งออกใช่วงเวลาว่างให้มากขึ้นก็ได้
แต่ในความเป็นจริง ทุกคนทั่วโลกสามารถออกกำลังกายได้ครบตามเวลาที่จำเป็นจริงหรือ? และสาเหตุที่ทำไม่ได้คืออะไรกันแน่?
“อัตราการออกกำลังกายในปี 2017 เพิ่มขึ้นเทียบกับปี 2008 แต่มีเพียง 24 % เท่านั้นที่ออกกำลังกายได้ครบตามเกณฑ์ และ 47% ของผู้ใช้ฟิตเนสมองว่าเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการออกกำลังกาย”
คนมีแนวโน้มที่จะออกกำลังกายมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ!
รายงานสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายโดย CDC (The Centers for Disease Control and Prevention)ในสหรัฐอเมริกา โชว์ว่าอัตราการออกกำลังกายของคนในอเมริกาปี 2017 นั้นเพิ่มขึ้นเทียบกับปี 2008 แต่มีเพียง 24 % ของประชากรเท่านั้นที่ออกกำลังกายได้ครบถ้วนตามเกณฑ์แนะนำ ซึ่งในระยะเวลา 10 ปี (2008-2017) จำนวนผู้ใหญ่ที่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นจาก 19 เป็น 25% สำหรับคนที่อาศัยในเขตเมือง และเพิ่มขึ้นจาก 13 เป็น 20% สำหรับเขตชนบท และงานสำรวจในปี 2019 อีกหนึ่งชิ้นยังคงระบุอีกว่าประชากรจำนวน 3 ใน 4 ของอเมริกาให้ความสำคัญกับการไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสดังภาพ
ซึ่งสำหรับประเทศไทย ข้อมูลปี 2554 ก็แสดงว่าการออกกำลังกายนั้นยังคงไม่ทั่วถึงและเพียงพอในทุกๆคน
ในที่นี้หากมองในมุมของผู้ประกอบการหรือเจ้าของฟิตเนสแล้ว แปลว่า โอกาสสำหรับการดึงดูดให้คนมาออกกำลังกายที่ฟิตเนสก็ยังมีอีกมากมาย เพื่อส่งเสริมให้พวกเขามีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น
เป็นปกติที่จะมีหลายเหตุผลที่ทำให้คนตัดสินใจออกกำลังกาย โดยเฉพาะการเล่นที่ฟิตเนสซึ่งเหตุผลระหว่างผู้หญิงและผู้ชายก็แตกต่างกันไป ทั้งการลดน้ำหนัก การลดความเสี่ยงต่อโรค การเพิ่มพลังสมอง หรือการลดความเครียด และเล่นเพื่อความสนุก ทว่าการทำความเข้าใจเหตุผลและแรงจูงใจจึงทำให้คุณสามารถออกแบบแคมเปญหรือราคาที่ตรงกับแต่ละเพศได้
จากข้อมูลภาพ เราจะเห็นได้ว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักมากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้ชายเน้นออกกำลังกายเพื่อความสนุกและสุขภาพร่างกายมากกว่า ซึ่งการแบ่งเหตุผลก็อาจจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุและวัยเช่นกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่คุณควรสนใจด้วยก็คือ การเจาะตลาดลูกค้าว่า คุณเน้นให้บริการลูกค้าวัยไหน เน้นวัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ และพวกเขาจะมีพฤติกรรมเพิ่มเติมยังไงบ้าง
เรามักจะสังเกตได้ชัดเจนว่าในช่วงต้นปีมักจะมีคนมาสมัครและออกกำลังกายที่ฟิตเนสเป็นจำนวนมาก และเริ่มลดลงเรื่อยๆในเดือนต่อๆไป ปัจจัยที่ทำให้คนไม่ไปใช้ฟิตเนสตลอดทั้งปี หรือเลิกออกกำลังกายไปนั้นได้แก่
การทำความเข้าใจเหตุผลเหล่านี้ทำให้คุณสามารถออกแบบกิจกรรมหรือราคาและโปรโมชั่นเพื่อทำให้ลูกค้ายังมีแรงจูงใจในการเข้าฟิตเนสสม่ำเสมอ ทำให้พวกเขารู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนและมีการกระตุ้นแรงจูงใจ ออกแบบคลาสที่เหมาะสมกับเวลาที่ลูกค้ามีอย่างจำกัด ซึ่งเราจะพูดถึงวิธีการพัฒนาในส่วนถัดไป
แม้จะมีเทรนด์ที่เปลี่ยนไปมากมาย รูปแบบการออกกำลังกายที่คนอเมริกันนิยมในปี 2019 ยังคงเป็นการเดิน ซึ่งมีส่วนมากถึง 68% โดยยิ่งอายุมากขึ้น การเดินก็เป็นวิธีที่นิยมมากขึ้น ในขณะที่การออกกำลังกายแบบ Weight Training มาเป็นอันดับสอง และการใช้เครื่องออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอมาเป็นอันดับสาม
นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบกลุ่มยังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นโยคะ คลาสเต้น คลาสปั่นจักรยาน Crossfit หรือการออกแบบ HIIT (High Intensity Interval Training) หรือ Pilates และศิลปะป้องกันตัวรูปแบบต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มอายุ สำหรับคนอายุน้อยแล้ว การออกกำลังกายแบบหนักเช่น Kickboxing, Crossfit หรือกิจกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างการปีนผาหินก็เป็นที่นิยมมากกว่าถ้าเทียบกับกลุ่มคนอายุมากที่เน้นกิจกรรมที่เบากว่า
จากข้อมูลดังนี้ เราจะพบว่าสิ่งที่สามารถทำได้ในมุมของเจ้าของฟิตเนสคือ การสร้างกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างสมาชิกฟิตเนส ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าฟิตเนสของคุณให้บริการคนกลุ่มไหน เป็นฟิตเนสครบวงจรหรือเฉพาะทาง(เช่น โยคะสตูดิโอ สตูดิโอปั่นจักยาน) ยกตัวอย่างเช่น
เพราะฉะนั้นการเข้าใจที่มาของแรงจูงใจในการออกกำลังกายของคนออกกำลังกายก็ช่วยให้เราสามารถออกแบบฟิตเนสที่คอยตอบสนองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไปเช่นกัน
เมื่อเราพอมองเห็นภาพและเข้าใจคนออกกำลังกายเบื้องต้นแล้ว เราสามารถช่วยเหลือพวกเขาและส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มลูกค้าในระยะยาวได้ดังนี้
เครดิตรูปภาพ : Hellodoctor
การกระตุ้นแรงจูงใจให้ลูกค้าอาจจะดูเป็นเรื่องง่าย เช่นการจัดคลาสเพื่อลดน้ำหนักสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ หรือจัดกลุ่มให้คนที่มีเป้าหมายคล้ายกันมาออกกำลังกายด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงคือ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า คนที่กำลังเล่นอยู่นั้นเขาต้องการอะไรและสาเหตุที่เขามาสมัครฟิตเนสคืออะไรกันแน่ เช่นในบางกรณีที่ คนมาสมัครเพราะถูกหมอและแฟนบังคับให้มาฟิตเนสหลังตรวจพบโรค หรือคนที่อยากออกกำลังกายเพราะอยากรักษาสุขภาพและชอบออกจริงๆ โดยเราจะช่วยเขาได้ยังไง ในที่นี้เราเลยแบ่งแรงจูงใจในการออกกำลังกายเป็น 2 ประเภท
1. แรงจูงใจภายใน: อยู่ในรูปแบบของความสนุก ความพึงพอใจในตัวเอง ความท้าทายตัวเอง มักทำให้คนออกกำลังกายได้ต่อเนื่องนานกว่าแรงจากภายนอก เป็นแรงจูงใจที่มีผลต่อการออกกำลังกายในระยะยาว
2. แรงจูงใจภายนอก: เกี่ยวข้องกับร่างกายเช่น อยากหุ่นดี อยากลดน้ำหนัก อยากหายจากโรค หรือการเข้าสังคมอย่าง การได้เข้าร่วมคลาส มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นแรงจูงใจที่อยู่ในระยะสั้นกว่าแรงจากภายใน
ในฐานะเจ้าของฟิตเนส การพัฒนาแรงจูงใจทั้ง 2 แบบไปพร้อมกันจะทำให้ลูกค้าสามารถออกกำลังกายได้สม่ำเสมอและยาวนานกว่าการส่งเสริมแค่ด้านใดด้านเดียว ซึ่งคนที่คอยทำความเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้าและกระตุ้นความท้าทายได้มักจะเป็น เทรนเนอร์ คนนำคลาส หรือพนักงานบริการ ที่ได้พูดคุยกับลูกค้าอยู่เสมอ โดยที่พวกเขาสามารถ
การให้รางวัลแก่คนออกกำลังกายเช่น การเสนอโปรโมชั่น หรือให้อะไรเล็กๆน้อยๆเมื่อลูกค้าสามารถออกกำลังกายได้ถึงเป้าหมายทำให้พวกเขามีแรงจูงใจภายนอกที่นำไปสู่ความรู้สึกเชิงบวกกับการออกกำลังกาย และช่วยให้มันพัฒนาไปเป็นแรงจูงใจในการออกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง พลังงาน และออกเพื่อความท้าทาย ซึ่งเป็นแรงภายใน ทำให้พึงพอใจกับการออกอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มเติมคือคนที่สมัครฟิตเนสแล้วเซ็นสัญญาเป็นเวลามากกว่า 6 เดือนมักจะมาออกกำลังกายมากกว่าคนที่ไม่ได้จ่ายแบบเหมารวมเป็นเดือนถึง 45% ซึ่งแปลว่าโอกาสที่คุณจะได้เข้ามาและช่วยลูกค้าในออกกำลังกายนั้นน้อยกว่าลูกค้าที่มีแพลนจะออกระยะยาว ดังนั้นการกระตุ้นให้พวกเขาลองซื้อแพคเกจแบบเป็น 6 เดือน หรือปี ก็จะทำให้พวกเขามีเวลาในการพัฒนาร่างกายอย่างต่อเนื่องมากกว่านั่นเอง
หนึ่งในปัจจัยที่หลายๆคนกลับมาออกกำลังกายคือ การชักชวนจากเพื่อนหรือครอบครัว และการออกกำลังกายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ใกล้เคียงกันพร้อมๆกัน ในมุมของฟิตเนสแล้ว สิ่งที่ช่วยให้ลูกค้ามีแรงจูงใจกับเพื่อนๆคือการออกแบบพื้นที่ในฟิตเนสให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิก ทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสม และอาจมีโปรแกรมการอ้างอิงชื่อคนในครอบครัวเพื่อมาออกกำลังกายด้วยกัน ทำให้พวกเขาออกกำลังกายได้ต่อเนื่องยากนานกว่าการมาออกคนเดียว
มีบางกรณีที่เทรนเนอร์หรือคนนำคลาสได้แนะนำหรือสร้างความคิดเชิงลบด้วยคำพูด แม้จะคิดว่าเป็นการสร้างแรงกระตุ้น แต่ในบางครั้งก็ทำให้สมาชิกบางคนหมดแรงจูงใจเพราะรู้สึกว่าตัวเองทำไม่ได้ เช่นการบอกว่า “แค่นี้ก็ทำไม่ได้” หรือ “อีกนิดเดียวเอง คนอื่นยังทำได้เลย” ดังนั้นการเปลี่ยนวิธีพูดมาเป็นการพูดเชิงบวกเช่น “อีก 1 นาทีก็จะครบเป้าหมายแล้ว คุณทำได้” หรือ “พรุ่งนี้คุณจะออกกำลังกายได้มากขึ้น หรือดีขึ้นเสมอ” จากเทรนเนอร์หรือคนรอบข้างในฟิตเนส ทั้งพนักงานต้อนรับ พนักงานบริการภายใน ก็ช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจและอยากออกกำลังกายเพื่อเป้าหมายในระยะยาวได้
สิ่งสำคัญในการบริหารธุรกิจฟิจเนสให้ประสบความสำเร็จในยุคที่การแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆนั้นคือ การทำความเข้าใจลูกค้า เข้าใจความต้องการและเป้าหมาย สาเหตุการเล่นฟิตเนส สาเหตุการยกเลิกสมาชิก และกิจกรรมที่ชอบ เพราะเมื่อเราเริ่มรู้จักพฤติกรรมการออกกำลังกายเบื้องต้นของลูกค้าแล้ว การออกแบบฟิตเนสในรูปแบบของการออกแบบพื้นที่ภายใน การเทรนพนักงานและเทรนเนอร์ การวางแผนราคาและโปรโมชั่น และการสร้างฟิตเนสให้ตอบโจทย์กับลูกค้าก็จะตามมา
ซึ่งในเชิงลึกขึ้นอย่างการแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยเล่นฟิตเนสมาก่อนแต่ออกกำลังกายเป็นประจำ คนที่ไม่ออกกำลังกายเลย หรือคนที่เล่นฟิตเนสแต่เลิกออกกำลังกายไป ก็จะช่วยให้คุณพัฒนาบริการได้ดียิ่งขึ้น
เพิ่มเติมคือการติดตามเทรนด์ใหม่ๆที่จะนำไปสู่พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าคุณพร้อมจะออกแบบและเริ่มวางแผนเพื่อสร้างธุรกิจฟิตเนสให้มีประสิทธิภาพ และตรงใจลูกค้า ก็สามารถลองปรึกษาได้เลยที่นี่
Source: Mindbody, Psychologytoday, Totalcoaching
ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ