ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรออกกำลังกายอย่างไรให้ปลอดภัย ?

คุณรู้หรือไม่ว่า ? “โรคมะเร็ง” คือโรคร้ายที่มีอัตราเฉลี่ยของการเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย แถมยังไม่ใช่โรคอื่นไกลที่ไหน เพราะโรคมะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยอีกด้วย

ในบทความนี้เราจึงอยากมาย้ำเตือนทุกคนให้ตระหนักถึงการออกกำลังกายกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากกรมการแพทย์ทั่วโลกแล้วว่า “การออกกำลังกายสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ดีที่สุดจริง ” นั่นก็เพราะว่าการรักษาโดยทั่วไปอย่างเช่น การผ่าตัด การฉายแสง ยาเคมีบำบัด ฯลฯ ล้วนแต่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนตามมาได้

ดังนั้นสำหรับใครที่ป่วยโรคมะเร็งและได้รับการรักษาแล้ว หรือคุณกำลังตกเป็นภาวะเสี่ยงอยู่ เราขอแนะนำให้คุณนำเทคนิคการออกกำลังกายเหล่านี้ไปใช้เพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน และเพื่อฟื้นฟูร่างกายของคุณให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นไปดูพร้อม ๆ กันเลย


ทำไมการออกกำลังกายถึงเป็นสิ่งที่รักษา “โรคมะเร็ง” ได้ดีที่สุด ? 

โรคมะเร็ง | Praram 9 Hospital
ภาพจาก praram9


อย่างที่เราเกริ่นไปในช่วงต้นแล้วว่าวิธีรักษาโรคมะเร็งจะประกอบไปด้วย 

  • การผ่าตัด : เอาก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็งออกไป
  • รังสีรักษา : การใช้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • เคมีบำบัด : การให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • ฮอร์โมนบำบัด : การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • การรักษาแบบผสมผสาน : การรักษาร่วมกันหลายวิธีจากที่กล่าวมาข้างต้น แต่จะใช้วิธีไหนขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค

ซึ่งการรักษาเหล่านี้จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามระยะอาการของแต่ละคน และจะส่งผลข้างเคียงที่ตามมาอย่างเช่น อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เบื่ออาหาร อาการล้าของกล้ามเนื้อขณะทำกิจกรรม และอื่น ๆ อีกมากมายส่งผลทำให้สุขภาพของคุณทรุดโทรม อ่อนแอลงได้ง่าย

การออกกำลังกายจึงเป็นหนึ่งตัวช่วยที่แพทย์ชั้นนำทั่วโลกเน้นย้ำให้ผู้ป่วย และผู้ที่มีอาการสุ่มเสี่ยง หมั่นออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายนั้นมอบประโยชน์ให้กับร่างกายของเราได้ดีที่สุด (เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง) 


ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรออกกำลังกายอย่างไร ? และได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการออกกำลังกายเป็นประจำ

คลินิกกายภาพบำบัด | โรงพยาบาลซีจีเอช พหลโยธิน
ภาพจาก CGH


เราจะพาคุณมาดูวิธีการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง และรู้ถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อไขข้องใจไปพร้อมกันว่าทำไมการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และยังสามารถช่วยรักษามะเร็งได้ดีที่สุดอีกด้วย 

 

ข้อแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาการของโรคมะเร็งนั้นมีหลากหลายชนิด และมีอาการที่แตกต่างกัน เราจึงขอแบ่งผู้ป่วยกับการออกกำลังกายเป็น 2 กลุ่มหลักด้วยกันครับ คือ

  1. ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะปานกลางจนถึงขั้นรุนแรง
ภาพจาก Youtube

 

สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งแนะนำให้เริ่มต้นจากออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยท่าทางต่าง ๆ ที่มีรูปแบบเดียวกันกับการเล่นโยคะ และควรเริ่มต้นจากท่าง่าย ๆ หรือเริ่มต้นปฏิบัติจากการนั่งบนเก้าอี้ดังภาพ 

เช่น นั่งหลังตรงหลังติดเก้าอี้และปฏิบัติท่า ยืดเหยียดแขนไปด้านหลังให้รู้สึกตึง, ยืดเหยียดขาตึง (ทำทีละข้างสลับกัน), นำมือจับที่หูฝั่งตรงข้ามแล้วดึงคอเข้าหาอีกฝั่งให้รู้สึกตึง หรือ นำมือไปจับหัวไหล่อีกฝั่งและหันคอไปทิศทางเดียวกับหัวไหล่ให้รู้สึกตึง โดยท่าทั้งหมดจะทำค้างไว้ 10 วินาที และควบคุมลมหายใจเข้าออก 

สามารถใช้ท่าทางอื่น ๆ และเพิ่มความเข้มข้นในการยืดเหยียดด้วยรูปแบบการยืน นั่ง นอน ตามความเหมาะสมของร่างกาย และควรเริ่มปฏิบัติอย่างช้า ๆ ควบคู่ไปกับการปรึกษาแพทย์อยู่ตลอดด้วย  

 

  1. ผู้ป่วยโรคมะเร็งขั้นต้นหรือผู้ป่วยที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสมบูรณ์

 

การออกกำลังกายอีกหนึ่งรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งกลุ่มนี้ก็คือ Aerobic Exercise หรือที่เรารู้จักกันใน Cardio นั่นเอง โดยจะเน้นไปที่การออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อขา ลำตัว หรือแขน

ด้วยวิธีการออกกำลังกายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ปั่นจักรยาน ที่ใช้เวลาออกกำลังกายต่อเนื่องกันเป็นเวลา 20-30 นาที อย่างน้อย 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ใช้ระดับการออกกำลังกายให้อยู่ในระดับปานกลางจนไปถึงหนัก ตามความเหมาะสมของร่างกาย

คุณสามารถเริ่มต้นจากการเดินต่อเนื่องภายในบ้าน หรือใช้วิธีที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักลงทุนกับเครื่องออกกำลังกายที่ช่วยให้การออกกำลังกาย Cardio มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ลู่วิ่งไฟฟ้า เครื่องเดินวงรี หรือเครื่องปั่นจักรยาน เพราะสามารถออกกำลังกายได้ตลอดเวลาภายในบ้าน และปลอดภัยอีกด้วย

 

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นประจำสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

  • ช่วยพัฒนาความสามารถทางร่างกายและความแข็งแรงของจิตใจ
  • ลดผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็ง 
  • ช่วยปรับปรุงสมดุล และลดความเสี่ยงจากการล้ม ด้วยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยให้คุณสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างอิสระและกระฉับกระเฉง
  • ช่วยปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิตให้ไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • ลดความเหนื่อยล้าและความง่วง
  • ช่วยปรับปรุงสุขภาพจิต สร้างความมั่นใจในตนเอง พร้อมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้า

อย่างไรก็ตามก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายทุกครั้งผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้าใจถึงอาการของตนเอง และควรวอร์มร่างกายทุกครั้งก่อน-หลังการออกกำลังกายด้วย

 

เทคนิคผสมผสานการออกกำลังกายให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของคุณ

หัวใจสำคัญของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคมะเร็งคือ ความสม่ำเสมอ เพราะหลายคนมักเกิดอาการท้อได้ง่ายจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ดังนั้นการมีวินัย ความอดทนจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และคุณเองก็สามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ ด้วย 4 เทคนิคเหล่านี้

  1. ฟังร่างกายของตัวเอง

เพราะโรคมะเร็งเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการที่จะทำให้คุณออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอและปลอดภัย คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งว่าร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนควรออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง หรือสังเกตร่างกายของตัวเองก่อนแล้วจึงเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเป้าหมายตัวเองที่สุด เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวคุณเองเป็นอย่างแรก และปฏิบัติต่อผู้อื่นได้ถูกต้อง (ในกรณีที่เกิดกับเด็กหรือผุ้สูงอายุ)

  1. การออกกำลังกายไม่ควรเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ

อย่างที่เราได้กล่าวไปในเนื้อหาข้างบนแล้วว่า ผู้ป่วยมักเกิดอาการท้อได้ง่ายจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้และจึงเลิกออกกำลังกายไปในที่สุด ดังนั้นคุณควรนึกถึงประโยชน์ที่คุณจะได้รับ ก่อนเป็นอย่างแรก เพราะถึงแม้คุณอาจจะเริ่มต้นลำบากกว่าคนอื่น แต่เมื่อคุณออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอการทรงตัวของคุณจะเริ่มดีขึ้น จนคุณสามารถพัฒนาขีดจำกัดของตนเอง และสามารถเลือกออกกำลังกายอะไรก็ได้ตามต้องการ

  1. การดื่มน้ำและเรื่องโภชนาการมีความสำคัญพอ ๆ กับการออกกำลังกาย

การดื่มน้ำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ลองตั้งเป้าหมายการดื่มน้ำของคุณให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร เพราะการดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายผลิตเหงื่อดีขึ้น และป้องกันไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไปซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้ ผสมผสานการดื่มน้ำเข้ากับโภชนาการที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นแผนคุมอาหารที่เน้นทั้งธัญพืช เนื้อไม่ติดมัน และอาหารโปรตีนสูง เช่น พืชตระกูลถั่ว ปลา และอาหารไขมันต่ำ มันจะช่วยให้ร่างกายของคุณฟื้นฟูได้ดีขึ้นอย่างเหมาะสม

  1. กิจกรรมที่คุณทำทุกวันก็สามารถฝึกร่างกายได้

ผู้ป่วยหลายคนอาจไม่ชื่นชอบโปรแกรมการออกกำลังกายที่แพทย์แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนั้นหากคุณไม่ชื่นชอบโปรแกรมการฝึกแบบเฉพาะเจาะจงก็ไม่เป็นไร เพราะกิจวัตรประจำวันของคุณก็สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ตัวอย่างเช่น การกวาดถูบ้าน พับเสื้อผ้า ขึ้น-ลงบันได โดยไม่ฝืนร่างกายตัวเอง รวมถึงการพักผ่อนที่คนป่วยควรให้ความสำคัญและ คำนึงถึงข้อแรกทุกครั้งคือ “ฟังร่างกายของตัวเอง” เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายในการออกกำลังกายนั่นเอง


สรุปทั้งหมด

โรคมะเร็งนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในร่างกายทุกคน จากภาวะเซลล์ผิดปกติที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนร่างกายควบคุมไม่ได้ เกิดเป็นก้อนเนื้อที่แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ / อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว เช่น ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด 

แถมปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนด้วยว่ามะเร็งในแต่ละบุคคลนั้นเกิดจากสาเหตุใดเพียงสาเหตุเดียว เพราะแต่ละชนิดเกิดการแทรกซ้อนจากสิ่งต่าง ๆ ได้ทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายในชีวิตประจำวันของคุณด้วย 
เพราะการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายนี่แหละนอกจากจะสามารถฟื้นฟูร่างกายของคุณให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันความเสี่ยงให้คุณดำรงชีวิตได้อย่างมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น หรือเพื่อเป็นการส่งต่อกำลังใจให้คุณได้ คุณสามารถเข้าไปรับฟังบทสัมภาษณ์ของอดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รักษาหายขาดแล้วได้เลย

ต้องการเปิดฟิตเนส?

ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ

ปรึกษาฟรี!