อาการบาดเจ็บจากการวิ่ง เป็นปัญหาที่พบได้กับนักวิ่งทุกคนตั้งแต่มือใหม่ยันนักกีฬามืออาชีพ เนื่องจากการวิ่งย่อมมาคู่กับอาการบาดเจ็บอยู่เป็นทุนเดิม ทั้งจากแรงกระแทก, ท่าทางการวิ่งที่ไม่ถูกต้อง, กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานจนอ่อนแรง, อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ฯลฯ
ดังนั้นนักวิ่งทุกคนจึงต้องรับรู้และเข้าใจถึงอาการบาดเจ็บจากการวิ่งต่าง ๆ ที่พบได้เป็นประจำ เพื่อเป็นความรู้ติดตัวนำไปปฏิบัติและดูแลตัวเองเบื้องต้น ลดโอกาสในการเกิดอาการบาดเจ็บได้นั่นเอง ซึ่งวันนี้ NBA Sportmanagement ก็ได้รวบรวมอาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งวิธีป้องกันและรักษาที่ต้องรู้มาให้กับคุณแล้ว มาเริ่มกันเลย
เป็นอาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่พบเจอได้มากที่สุดจากอาการบาดเจ็บทั้งหมด ทำให้ถูกบัญญัติเป็นโรคสามัญของเหล่านักวิ่งด้วยชื่อ Runner’s Knee หรือโรคข้อเข่าอักเสบไปโดยปริยาย
อาการ: เป็นการเจ็บปวด บวมแดง บริเวณลูกสะบ้าหัวเข่าด้านหน้า และจะมีอาการมากขึ้นโดยเฉพาะตอนงอเข่า, เหยียดหัวเข่าหรือขึ้น-ลงบันไดหรือวิ่งที่ชันมาก ๆ และบางทีเวลาเดิน, วิ่งจะมีเสียงดังกร๊อบแกร๊บในข้อเข่าอีกด้วย
สาเหตุ: มาจากการวิ่งที่ผิดวิธี ไม่ว่าจะเป็น การวิ่งก้าวเท้ายาวเกินไป, วิ่งในลักษณะสูง-ต่ำ-ชันเป็นระยะเวลานาน, แกนกลางร่างกายไม่แข็งแรง (Core Body Muscle), กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง (Quadriceps), วิ่งกระแทกส้นเท้า หรือแม้กระทั่งวิ่งยกเข่าสูงเกินไป
วิธีป้องกันแก้ไข: ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการวิ่งทุกครั้ง ใส่รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับการวิ่งในพื้นที่ชัน, สูงเช่นรองเท้าวิ่งเทรล และเน้นพัฒนาความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขากับแฮมสตริง รวมถึงกล้ามเนื้อส่วนแกนกลาง เช่น สะโพก, หลัง เป็นต้น
เอ็นร้อยหวายเป็นอีกหนึ่งส่วนที่อักเสบได้ง่าย ก่อให้เกิดเป็นอีกหนึ่งอาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่พบได้บ่อยไม่แพ้ Runner’s Knee
อาการ: เป็นอาการเจ็บปวด บวมแดงบริเวณเอ็นร้อยหวาย (บริเวณส้นเท้าหรือหลังส้นเท้า) ที่สามารถลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อน่องส่วนล่างได้ถ้าปล่อยเอาไว้นาน ๆ
สาเหตุ: ปัจจัยหลัก ๆ คือการที่เส้นเอ็นตึงทั้งจากการโหมวิ่งที่มากเกินไป (ทั้งระยะเวลาและระยะทาง) และการขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการวิ่ง, การใส่รองเท้าที่ฉีกขาดสภาพไม่ดี
วิธีป้องกันและแก้ไข: เมื่อเกิดอาการเจ็บปวดเอ็นร้อยหวาย ให้หยุดการวิ่งทันทีเพื่อฟื้นฟูและป้องกันไม่ให้อาการอักเสบลุกลามไปส่วนน่อง จากนั้นให้ประคบด้วยน้ำแข็ง 10-15 นาที หลังจากอาการปวดหายไปแล้วให้ Bodyweight ด้วยท่ายกส้นเท้า, ดันกำแพงเพื่อฟื้นฟูร่างกายเพิ่มเติมได้
การยืดเหยียดร่างกายก่อนวิ่ง (รวมถึงการออกกำลังกายกีฬาทุกประเภท) เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด แต่ก็ถูกมองข้ามมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยคุณรู้หรือไม่ว่าถ้าคุณยืดเหยียดร่างกายก่อน-หลังออกกำลังกายทุกครั้ง คุณจะฟื้นตัวไวขึ้น, อาการบาดเจ็บเกิดขึ้นน้อยลง และประโยชน์อีกมากมาย ซึ่งการยืดเหยียดร่างกายที่มีประสิทธิภาพเราได้รวบรวมมาให้กับคุณแล้วในบทความนี้
>> รวม 8 ท่าผ่อนคลาย (Cooldown) หลังออกกำลังกายเสร็จ
ITB เป็นเอ็นที่อยู่บริเวณด้านข้างของกล้ามเนื้อต้นขา ซึ่งทุกครั้งที่วิ่ง ITB จะเกิดการหดและยืดตัวในทุก ๆ ก้าวที่วิ่ง ซึ่งเมื่อ ITB เกิดการเสียดสีกับกระดูกข้างเข่าบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาจนกลายเป็นอาการบาดเจ็บจากการวิ่งได้ ซึ่งพบได้บ่อยในนักวิ่งทั่วไปและนักวิ่งเทรล
อาการ: เป็นอาการเจ็บแปล๊บที่สะโพกด้านข้าง ต้นขาด้านข้างและเข่าด้านนอกขณะงอเข่าหรือช่วงหลังวิ่งเสร็จ สำหรับบางคนอาจร้าวไปทั้งต้นขาลามไปถึงสะโพก อาการปวดมักเกิดขึ้นขณะวิ่งลงบันไดหรือลงทางลาดชัน
สาเหตุ: มาจากการวิ่งขึ้น-ลงเขาหรือบันไดมากจนเกินไป, รองเท้าวิ่งไม่ใช่ประเภทแบบวิ่งเทรลโดยเฉพาะ และกล้ามเนื้อสะโพกและต้นขาไม่แข็งแรง
วิธีป้องกันและแก้ไข: หยุดพักการวิ่งในทางลาดชัน เช่น ภูเขาหรือบันไดชั่วคราว เมื่อเกิดอาการปวดให้ประคบเย็นประมาณ 20 นาทีและพัก 1 ชั่วโมงสลับทั้งวันจนกว่าอาการจะหายดี หลังจากนั้นให้นักวิ่งพัฒนากล้ามเนื้อสะโพกและต้นขามากขึ้นด้วยท่าเวทเทรนนิ่ง และที่สำคัญที่สุดก็คือห้ามลืมยืดเหยียดขาก่อนวิ่งเสมอ
กล้ามเนื้อ Piriformis ส่วนใหญ่เราจะเรียกกันว่า จุดสลักเพชร เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้กับสะโพก มีหน้าที่รักษาสมดุลของสะโพกโดยรวมและช่วยให้ ต้นขา เคลื่อนไหวไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ กล้ามเนื้อชนิดนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาสมดุลให้นักวิ่ง วิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
อาการ: กล้ามเนื้ออ่อนแรง วิ่งได้ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดอาการชาไปทั่วร่างกาย เคลื่อนไหวต่อเนื่องไม่ได้ และปวดหลัง โดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง
สาเหตุ: เกิดจากการหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป ใช้งานกล้ามเนื้อส่วนสะโพก, ขาอย่างต่อเนื่อง, ขาดการวอร์มอัพ และ Cooldown ก่อนออกกำลังกายและวิ่งผิดท่าทางจนทำให้กล้ามเนื้อ Piriformis ไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic Nerve) ที่เป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่พาดลงขาทั้ง 2 ข้าง
วิธีป้องกันและแก้ไข: เมื่อเกิดอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทให้ประคบร้อน-เย็นทุก 2-3 ชั่วโมง เมื่อหายดีให้ยืดกล้ามเนื้อก่อนกลับมาวิ่งและหลีกเลี่ยงการวิ่งเป็นระยะเวลานานและบนพื้นที่ลาดชัน หรือถ้าเกิดอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือไอบูโพรเฟน ได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ โรคปวดสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) เป็นโรคที่ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่นักวิ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิต Office Syndrome สำหรับคนในวัยทำงานอีกด้วย ถ้าคุณอยากรู้วิธีแก้ไขโรคปวดสะโพกหนีบเส้นประสาทแบบเจาะลึก In-depth กว่านี้สามารถเข้ามาอ่านได้เลยที่บทความ
>> โรคปวดสะโพกหนีบเส้นประสาทคืออะไร ออกกำลังกายรักษาได้จริงหรือไม่ ? พร้อมวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง
>> Office Syndrome 5 ท่าบริหารเพื่อแก้ไข พร้อมแนะนำอุปกรณ์บรรเทาอาการที่คุณควรมี
ถ้าพูดถึงอาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่มือใหม่เป็นกันบ่อยที่สุด กล้ามเนื้อแข้งอักเสบ น่าจะเป็นหนึ่งในอาการที่ติดอันดับแน่นอน เนื่องจากความที่ยังไม่รู้จังหวะการวิ่ง, ระยะทางและสมรรถภาพร่างกายตัวเองดีนัก ทำให้หน้าแข้งเกิดอาการเจ็บปวดขึ้นมาได้ง่าย ๆ
อาการ: เป็นอาการปวดบริเวณกระดูกหน้าแข้ง เกิดขึ้นบ่อยหลังวิ่งเสร็จ
สาเหตุ: เกิดจากการไม่รู้สมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกายตัวเอง จนหักโหมวิ่งนานเกินไป, ข้ามขั้นไปวิ่งเทรล หรือวิ่งบนพื้นผิวที่แข็งไม่สม่ำเสมอ เช่น คอนกรีต จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนแข้งหดตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดอาการอักเสบ
วิธีป้องกันและแก้ไข: ให้นักวิ่งสำรวจความพร้อมของร่างกายเสมอว่าคุณสามารถวิ่งได้ในระยะทางและเวลาเท่าใด กล้ามเนื้อขามีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่กับโปรแกรมที่คุณจะเริ่มต้นวิ่ง แต่เมื่อเกิดอาการไปแล้ว ให้ประคบเย็นประมาณ 15-20 นาทีเป็นประจำทุกวัน จนกว่าอาการจะทุเลาลง จากนั้นถ้าต้องการกลับมาวิ่งให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนเสมอ และปรับโปรแกรมการวิ่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น เพิ่มระยะทางหรือเวลาไม่เกิน 10% ต่อ 1-2 สัปดาห์
การวิ่งเป็นหนึ่งในการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, เผาผลาญไขมันในร่างกายของทุกคน แต่ทั้งนี้คุณก็ต้องระวังอาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเราหวังว่าบทความในวันนี้จะสามารถช่วยให้คุณเข้าใจถึงอาการบาดเจ็บจากการวิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่าเดิม และสามารถนำความรู้ส่วนนี้ไปเตรียมตัวให้พร้อมกับการวิ่งที่ปลอดภัยต่อร่างกายขึ้นอีกระดับ
งานวิจัยได้ชี้ว่า การวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า (แบบไม่ปรับความชัน) มีผลช่วยให้ท่าทางการวิ่งดีขึ้นและปรับข้อเข่าให้ตรงกว่าเมื่อเทียบกับการวิ่งธรรมดา ดังนั้นจึงทำให้ลู่วิ่งไฟฟ้ากลายเป็นตัวช่วยชั้นดีถ้าคุณต้องการวิ่งแบบปลอดภัย ส่งผลเสียต่อร่างกายน้อยที่สุด นอกจากนั้น ลู่วิ่งไฟฟ้ายังช่วยให้คุณวิ่งออกกำลังกายเผาผลาญไขมันได้จากที่บ้านของคุณทุกเวลาอีกด้วย นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องออกกำลังกายที่ยืดหยุ่น มีข้อดีมากที่สุดในปีนี้ รุ่นที่แนะนำคือ Impulse IT407 ลู่วิ่งไฟฟ้าแบรนด์ระดับโลก
ด้วยสเปคสุดพรีเมียมภายในที่คุณจะได้รับมากมายดังนี้
และเมื่อซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า Impulse IT407 เราพร้อมมอบบริการหลังการขายให้อีกแบบคุ้ม ๆ ถึง 4 ต่อ!
ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ