หลากหลายเทรนด์การออกกำลังกายที่เข้ามา แล้วก็จากไปอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 1-2 ปี ด้วยสาเหตุหลักคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเนื่องจากปัจจัยต่างๆ รอบตัวของพวกเขา ดังนั้นคุณเอง ในฐานะเจ้าของ Gym ก็ควรที่จะอัพเดท และตามให้ทันว่าอะไรคือสิ่งที่กำลังอินเทรนด์อยู่
สำหรับปีนี้ 2019 ทาง ACSM’s Health & Fitness Journal® (FIT) ก็ได้ออกมาเปิดเผยผลลัพธ์จากแบบสำรวจ 20 นวัตกรรมและเทรนด์ฟิตเนสยอดนิยมของปี 2019
ซึ่งเราจะนำข้อมูลบางส่วนของแบบสำรวจ รวมทั้งการคาดการณ์ที่อิงจากสถิติมาวิเคราะห์ และอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้กับ Gym ของคุณได้อย่างตรงจุด
และด้านล่างนี้ก็คือ 5 เทรนด์ฟิตเนสที่น่าจับตามองในปี 2019 ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มต้นกับเทรนด์แรกกันเลย
เครดิตรูปภาพ : runningmagazine.ca
ถ้าดูจากสถิติที่อ้างอิงจาก Classpass ก็จะเห็นได้ว่าคลาสวิ่งที่ใช้ลู่วิ่งไฟฟ้า (Treadmill) เป็นเครื่องออกกำลังกายหลัก มีเพิ่มสูงขึ้นถึง 82 % ในปี 2018 เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า และก็ยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปีนี้ (2019)
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะการวิ่งก็เป็นหนึ่งในรูปแบบการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอ (Cardio) ที่ได้รับความนิยมมาตลอด เมื่อนำมารวมกับการวิ่งเป็นกลุ่ม พร้อมกับเพลงและบรรยากาศรอบๆตัวแล้ว มันก็จะกลายเป็นตัวกระตุ้นที่สามารถทำให้คุณสนุกไปกับการวิ่งได้ดี
บวกกับกระแสการวิ่งมาราธอนและการวิ่งแบบ Virtual run ที่มาแรงในช่วงที่ผ่านมา โดยบางคนอาจจะใช้มันเป็นเครื่องมือในการฝึกซ้อมสำหรับมาราธอน หรือใช้เป็นการวิ่งเพื่อสะสมระยะทางในแพลตฟอร์มของ Virtual run แต่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของฟิตเนส หรือผู้ที่ต้องการซื้อลู่วิ่งไปใช้ในบ้านสิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องรู้วิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้าด้วย
ดังนั้นปีนี้เราจะได้เห็นการเพิ่มขึ้นของคลาสวิ่ง หรือคลาสที่ผสมผสานการวิ่งกับรูปแบบการออกกำลังกายแบบอื่น เพื่อมาตอบสนองความต้องการของผู้เล่นอย่างแน่นอน
เครดิตรูปภาพ : andyvincentpt.com
HIIT หรือ High Intentsity Interval Training ซึ่งคือการออกกำลังกายแบบหนักเบาสลับกันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด มีความโดดเด่นในเรื่องของการเผาพลาญ และอัตราการเต้นของหัวใจเช่นเดียวกับการคาร์ดิโอ แต่การออกกำลังกายรูปแบบ HIIT จะเผาพลาญได้ดีกว่า (ในเวลาที่น้อยกว่าอีกด้วย) ด้วยพลังของการเบิร์นหลังออกกำลังกาย (exercise afterburn) ที่รูปแบบคาร์ดิโอไม่สามารถให้ได้
การออกกำลังกายรูปแบบ HIIT ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่ปี 2018 จนถึงปัจจุบัน โดยจะสังเกตุได้ว่า Gym หรือสตูดิโอออกกำลังกายหลายที่ในไทยก็เริ่มนำ HIIT มาผสมผสานเข้าไปในคลาสพิเศษต่างๆ
ซึ่งที่เป็นแบบนั้นก็เพราะมันสามารถประยุกต์เข้ากับการออกกำลังกายได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง และปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เช่น สควอท (squats) หรือ เบอร์พี (burpees) นอกจากนี้ ยังแปลว่าผู้เล่นนั้นก็สามารถใช้รูปแบบการออกกำลังกาย HIIT ได้กับเกือบทุกอุปกรณ์หรือเครื่องออกกำลังกายนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น เครื่อง Elliptical ที่ผู้เล่นสามารถแบ่งการออกกำลังกายเป็นแต่ละช่วงได้ เช่น วอร์มอัพใน 10 นาทีแรก (ใช้ระดับที่เบา 1-2 ) จากนั้นก็ใส่พลังอย่างเต็มที่ไปในช่วง 15 นาทีหลังจากนั้น (ใช้ระดับ 9 -10 ) เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจดีดขึ้นไปถึง 85 – 90 เปอร์เซ็นต์ และคูลดาวน์ในช่วง 5 นาทีสุดท้าย (ใช้ระดับ 3-4)
เครดิตรูปภาพ : nutraingredients.com
ผู้เชี่ยวชาญต่างๆที่ทำงานในสายงานด้านฟิตเนส สถานพยาบาล หรือบริษัทที่ดูแลเรื่องสุขภาพ กว่า 2,038 คน ได้เข้าร่วมทำแบบสำรวจ ACSM’s Worldwide Survey of Fitness Trends for 2019 และส่วนใหญ่ก็เห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า เทคโนลียีสำหรับสวมใส่ (เช่น สมาร์ทวอทช์ เทคโนโลยีติดตามกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือ เทคโนโลยีวัดอัตราการเต้นของหัวใจ) เป็นเทรนด์ที่มาแรงเป็นอันดับต้นๆในปี 2019 นี้
เทคโนโลยีสำหรับสวมใส่ หรือ Wearable Technology นั้นมักจะติด 3 อันดับแรกของฟิตเนสเทรนด์มาตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบัน และแม้ว่าในปี 2018 มันจะอยู่ที่อันดับ 3 แต่ในปีนี้มันก็สามารถกลับมาครองเทรนด์อันดับ 1 ได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับในปี 2016 และ 2017
อดีตอธิการบดีของ ACSM อย่าง Walter R. Thompson ก็ได้ออกมากล่าวถึงเทรนด์นี้ว่า “เทคโนโลยีสำหรับสวมใส่ในปัจจุบัน แม้จะเป็นแบรนด์ระดับ Low-end ก็ยังมีความแม่นยำมากขึ้นกว่าสมัยก่อน” ซึ่งมันก็อาจจะตอบคำถามได้ว่า ทำไมผู้คนถึงหันกลับมาสนใจสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้น
เครดิตรูปภาพ : cbsnews
Amaya Weddle ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการวิจัยของเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ที่ช่วยจัดการและหาสถานที่สำหรับการออกกำลังกายหรือร้านความสวยความงาม อย่าง Mindbody ก็ได้ออกมาฟันธงว่าเทรนด์โยคะจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เหมือนกับไม่กี่ปีที่ผ่านมา
และเธอยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ แม้ว่าฟิตเนสจะดูเป็นกิจกรรมหลักที่ผู้คนชื่นชอบมาติดกันหลายปี […] แต่ตามสถิติล่าสุดของเรามัน (โยคะ) ก็ยังคงเป็นการออกกำลังกายแบบกลุ่มที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา” และแน่นอนมันก็ยังเป็นหนึ่งเทรนด์หนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในไทยอีกด้วย
ส่วนหนึ่งคงมาจากจุดเด่นของมัน ที่จะทำให้ร่างกายของผู้เล่นผลิตออกซิโตซินและเอ็นโดฟินออกมา เพื่อช่วยเรื่องคุณภาพในการนอนหลับ ลดความเครียด หรือลดระดับความอักเสบภายในร่างกาย
ปัจจุบันทางเลือกของผู้เล่นก็มีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน สตูดิโอ หรือที่ Gym แต่ส่วนใหญ่ก็จะเลือกเล่นโยคะแบบกลุ่มที่ สตูดิโอ หรือ Gym เพราะมีอุปกรณ์ที่พร้อม เช่น บอลโยคะ (Yoga ball) หรือ เสื่อโยคะ (Yoga mat) อีกทั้งยังได้ฝึกไปพร้อมกับคนอื่นๆ อีกด้วย
เครดิตรูปภาพ : nbcnews
อีกหนึ่งเทรนด์ที่ดูจะเติบโตขึ้นในปี 2019 ก็คงเป็นการออกกำลังกายแบบกลุ่มในคลาส ที่งานวิจัยของ Mindbody ในปี 2018 ได้เผยว่าผู้คนกว่า 27 % ได้จองคลาสการออกกำลังกายแบบกลุ่มในแอพพลิเคชั่นทุกๆ สัปดาห์
ในขณะเดียวกัน NBC NEWS ก็เผยว่าส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะ การออกกำลังกายแบบกลุ่มนั้นดูจะให้ประโยชน์ในแง่ของสุขภาพมากยิ่งขึ้น เพราะมันช่วยให้ผู้เล่นรู้สึกมีกำลังใจและสามารถยกระดับตัวเองสู่เสต็ปต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คลาสกลุ่มประเภท Cross fit ที่ผู้เล่นจะได้กำลังใจจากคนรอบข้าง พร้อมกับเสต็ปการเล่นที่ไปพร้อมๆกัน ทำให้พวกเขาพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น
ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าผู้คนต้องการเพื่อนร่วมออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นความฮึกเฮิมของตัวเอง อีกทั้งยังต้องการผู้นำในการออกกำลังกายเพื่อจะได้ศึกษาการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
จะเห็นได้ว่าเทรนด์ฟิตเนสที่เคยโด่งดังอย่าง Core training หรือ Circuit training ก็หลุดโพลในปี 2019 นี้ และผู้คนต่างก็กลับมาให้ความสนใจกับบางเทรนด์ที่เคยได้รับความนิยมในอดีตอย่างน่าแปลกใจ
เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วก็จะเห็นว่าแกนหลักๆ ของเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็คือ
และด้วยสิ่งเหล่านี้ ทำให้แนวทางที่จะปรับตัวของเจ้าของ Gym คือการพัฒนาคลาสที่ตอบโจทย์ ยกตัวอย่างเช่นคลาส Crossfit ที่ผสมผสานการคาร์ดิโอและเวทเทรนนิ่งเข้าด้วยกัน ช่วยทำให้ผู้เล่นได้ไปถึงเป้าหมายในการเผาพลาญและการสร้างกล้ามเนื้อในเวลาเดียวกัน และที่สำคัญในเวลาจำกัดนั่นเอง
ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ